ZABI

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

หวัดดี

ดีครับ
เขียนโดย รินภิมร ที่ 21:06 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2012 (1)
    • ▼  มกราคม (1)
      • หวัดดี

เกี่ยวกับฉัน

รินภิมร
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

ลาว

  • thailaosbiz.com/index.php?option=com_content&task...

ลาว

ลาว

ลาว

ลาว

ลาว

ข้อมูลประเทศลาว ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (LAOS)ชื่อทางการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือเรียกว่า สปป.ลาว (The Lao People’s Democratic Republic / Lao P.D.R.)ที่ตั้ง อยู่ระหว่างละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (Land Lock)พรมแดน ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนทิศใต้ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าทิศตะวันตก ติดกับไทยเขตแดนไทย-ลาว สปป.ลาว มีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย ยาวประมาณ 1,810 กิโลเมตร (ทางบก 702 กิโลเมตร ทางน้ำ 1,108 กิโลเมตร) ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย (ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี) และ 9 แขวง / จังหวัดของลาว (ได้แก่ บ่อแก้ว ไชยะบุลี เวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก)พื้นที่ 91,429 ตารางไมล์ หรือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง (ประมาณ 4 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งหมด ลาวมีพื้นที่เพาะปลูกสำหรับการเกษตรเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมดภูมิอากาศ ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (พฤศจิกายน – เมษายน) กับ ฤดูฝน (พฤษภาคม – ตุลาคม) อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ ในปี 2549 สูงสุด 31.7 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 22.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,930.3 มิลลิเมตรต่อปีทรัพยากรที่สำคัญ ไม้ ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ ดีบุก ยิปซั่ม ตะกั่ว ทองแดง หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนท์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน (ในภาคกลางและภาคใต้) และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า เมืองหลวงและแขวงสำคัญ “นครหลวงเวียงจันทน์” เป็นนครหลวงของประเทศ และเป็นเขตการปกครองพิเศษ เรียกว่านครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์) อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคาย มีประชากรประมาณ 711,919 คน (ปี 2549) ซึ่งสมัยอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์มีชื่อว่า “จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคณหุต” โดยพระไชยเชษฐาธิราชสถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในราว พ.ศ. 2107 (ลาวว่า พ.ศ. 2106)“แขวงสะหวันนะเขต” เป็นแขวง (จังหวัด)ที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร ประชากรประมาณ 842,340 คน (ปี 2549)“แขวงจำปาสัก” เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรประมาณ 616,642 คน (ปี 2549)“แขวงหลวงพระบาง” เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว มีประชากรประมาณ 415,218 คน ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541 จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) ซึ่งทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน เช่น วัดเก่าแก่ที่สำคัญ พระราชวังเจ้ามหาชีวิต และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่งดงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงไว้ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติสังคม ประชากร 5.75 ล้านคน (ปี 2549) ประกอบด้วยลาวเทิง ลาวสูง และลาวลุ่ม แยกออกได้ประมาณ 68 ชนเผ่าลาวลุ่ม หมายถึง ชนชาติเผ่าลาวที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม ใช้ภาษาตระกูลไท-ลาว เป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องทั้งด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับชาวอิสานของไทยเป็นอย่างมาก เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ลาวยวน ไทลื้อ ฯลฯ มีประชากรประมาณร้อยละ 56 ของประชากรทั้งหมดลาวสูง ได้แก่ ชาวลาวภูเขา ใช้ภาษาตระกูลจีน-ทิเบต ประกอบด้วย ชนเผ่าม้ง และอื่นๆ เช่น แม้วลาย แม้วขาว แม้วดำ ย้าย โซโล ฮ่อ รุนี มูเซอ ผู้น้อย กุ่ย ก่อ แลนแตน ฯลฯ มีประชากรประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดลาวเทิง หรือลาวที่ราบสูง ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร ประกอบด้วย ข่าแจะ ละแนด แกนปานา สีดา บิด สามหาง ดำ หอก ผู้เทิง ไฟ เซลา ปันลุ แซ กะแสง ส่วย ตะโอย ละแว อาลัก กะตาง เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน กายัก ขะมุ ตาเลียง ฯลฯ มีประชากรประมาณร้อยละ 34 ของประชากรทั้งหมดความหนาแน่นของประชากร 24 คน / ตารางกิโลเมตรจำนวนประชากรในเมือง ร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมดจำนวนประชากรที่เป็นแรงงาน 2.74 ล้านคนอายุเฉลี่ย 61.7 ปีอัตราการเติบโตของประชากร ร้อยละ 2.4อัตราการว่างงาน ร้อยละ 5.7อัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 68.7กระแสไฟฟ้า/ปลั๊กไฟ 220 โวลต์ วงจรกระแสสลับ ปลั๊กไฟเป็นแบบขาแบนและขากลม 2 ขามาตราชั่ง-ตวง-วัด ใช้ระบบเมตริกเวลา เท่ากับประเทศไทย คือเร็วกว่ามาตรฐานที่เมืองกรีนิซ 7 ชั่วโมง วัน-เวลาทำการ ชั่วโมงทำงานราชการ : จันทร์ – ศุกร์ (08.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.)ธุรกิจ : วันเสาร์เปิดค้าขายเพียงครึ่งวัน วันอาทิตย์ธุรกิจทุกอย่างจะปิดธนาคาร : เปิดทำการเวลา 08.30 – 16.00 น. หยุดเสาร์ – อาทิตย์ศาสนา รัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยประชากรลาวร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี ที่เหลือเป็นคริสต์ (ประมาณ 1 แสนคน) และมุสลิม (ประมาณ 300 คน)ศิลปวัฒนธรรม มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น การคมนาคม ทางบก การคมนาคมเป็นปัญหาสำคัญของลาว เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา ทำให้ลำบากต่อการเดินทางและขนส่ง จึงมีส่วนสำคัญทำให้การค้าขายไม่เจริญก้าวหน้า และเศรษฐกิจไม่มั่นคง ปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นบ้าง รัฐบาลได้สร้างถนนเพิ่มเติม มีถนนติดต่อกับเวียดนามทั้งทางเหนือและทางใต้ทางรถไฟ ยังไม่มีใช้โครงการสร้างทางรถไฟใน สปป. ลาว ในอนาคตอันใกล้นี้ช่วงที่ 1 สายสะพานมิตรภาพ จ. หนองคาย ไปยังท่านาแล้ง บ้านโคกโพสี เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ อยู่ในระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จ เดือน พ.ค. 2551 (ความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย 197 ล้านบาท ซึ่ง 30 % เป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่า ที่เหลือเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว) ช่วงที่ 2 จากท่านาแล้ง บ้านโคกโพสี เมืองหาดทรายฟอง ไปยังสถานีเวียงจันทน์ เขตบ้านคำสะหว่าง (หลังสนามกีฬาแห่งใหม่ที่จะให้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ) ระยะทาง 9 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จทันที่ลาวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ปี 2552 เป็นโครงการช่วยเหลือจากองค์การพัฒนาของฝรั่งเศส ( AFD : Agence France Development) อยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคา ช่วงที่ 3 จากเวียงจันทน์ ไปยังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน เข้าสู่ชายแดนเวียดนาม ระยะทาง ประมาณ 400 กิโลเมตร (ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน และเวียดนาม)ทางน้ำ ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางสำคัญ มีท่าเรือริมแม่น้ำโขง ที่สำคัญคือ ท่านาแล้ง - ที่เวียงจันทน์, แก้งกะเบา - ที่สะหวันนะเขต และปากเซ – ที่จำปาสัก สามารถล่องสินค้าไปออกปากแม่น้ำโขงที่โฮจิมินห์ได้ทางอากาศ มีการบินพาณิชย์ในประเทศ ส่วนภายนอกประเทศมีการบินติดต่อกับกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ การเมือง ระบบการปกครอง สังคมนิยมประชาธิปไตย ชี้นำโดยพรรคประชาชนปฎิวัติลาว สถาบันการเมืองที่สำคัญ (1) พรรคประชาชนปฎิวัติลาว(2) คณะรัฐบาล(3) สภาแห่งชาติวันชาติ 2 ธันวาคม ของทุกปีวันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493ภาษาทางการ ภาษาลาวภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ภาษาไท ภาษาม้งการแบ่งเขตการปกครอง แบ่งเป็น 16 แขวง(จังหวัด) และ 1 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์ ) และยังมีการแบ่งออกเป็น 142 เมือง (อำเภอ) แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นบ้าน รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534บุคคลสำคัญ : (ตังแต่ วันที่ 8 มิถุนายน 2549 )
หน้าต่างรูปภาพ ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.